เมนู
Journal Information
บรรณาธิการ : รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรนุช เจริญกิจ
ISSN (Print) : 2651-2475
ISSN (Online) : 2773-9929

|
คำแนะนำสำหรับเตรียมต้นฉบับ
1. การพิมพ์
ต้นฉบับพิมพ์โดยโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด ใช้รูปแบบฟอนท์ Thai Sarabun PSK ขนาด 16 points สำหรับชื่อเรื่อง และ 15 points สำหรับที่เหลือ พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษ A4 จัดหน้า 1 คอลัมน์ เว้นขอบทั้ง 4 ด้าน 2.5 ซม. ความยาวของบทความรวมทุกอย่างไม่เกิน 10 หน้า
2. การเรียงเนื้อหา เนื้อหาประกอบด้วยส่วนต่างๆ รวม 8 หัวข้อ ควรเรียงตามลำดับ ดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้น กระชับและสื่อเป้าหมายหลักของการวิจัย ชื่อวิทยาศาสตร์ ใช้ตัวเอน และการพิมพ์ภาษาละติน เช่น in vivo, in vitro, Ad libitum, หรือ et al. ให้พิมพ์ด้วยตัวเอน ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ให้ขึ้นต้นคำด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำบุพบท
2.2 ชื่อผู้เขียน (Authors) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนที่อยู่ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้ใส่เป็นเชิงอรรถที่ท้ายชื่อหากมีผู้แต่งมาจากหลายที่ โดยอธิบายเชิงอรรถไว้ในหน้าแรกของบทความ ที่อยู่ควรเป็นที่อยู่ที่ติดต่อได้ทางไปรษณีย์ รวมรหัสไปรษณีย์ด้วย ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) หลังชื่อคนที่รับผิดชอบบทความ (corresponding author) พร้อมอีเมล์ติดต่อ
2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ควรสั้น กระชับ ได้ใจความในการทำวิจัย วิธีการ ผลการศึกษาและสรุป ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 300 คำ
2.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุคำสำคัญ ไม่เกิน 4 คำ ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา โดยวางในตำแหน่งชิดด้านซ้ายของหน้ากระดาษ (บทความประมวลความรู้เชิงวิเคราะห์ หรือบทความปริทัศน์ ไม่ต้องมีบทคัดย่อ)
2.5 คำนำ (Introduction) แสดงเหตุผลหรือความสำคัญที่ทำวิจัย อาจรวมการตรวจเอกสารและวัตถุประสงค์ไว้ด้วย
2.6 อุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods) รายละเอียดวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ และแบบจำลองการศึกษาที่ชัดเจน สมบูรณ์และเข้าใจง่าย
2.7 ผลการวิจัยและวิจารณ์ (Results and Discussion) อธิบายผลการทดลอง พร้อมเสนอข้อมูลในรูปแบบ ตาราง (Table) หรือภาพประกอบ (Figure) โดยตารางหรือภาพ ให้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดและแทรกอยู่ในเนื้อหา คำอธิบายตารางให้อยู่เหนือตาราง ส่วนคำอธิบายภาพให้วางอยู่ใต้ภาพ หน่วยในตารางให้ใช้ตัวย่อ ในระบบเมตริก ส่วนวิจารณ์ผล ให้แสดงความคิดเห็นของผลการศึกษาโดยเชื่อมโยงกับสมมติฐานหรืออ้างอิงที่เชื่อถือได้ โดยไม่ต้องแยกเป็นอีกหัวข้อ
2.8 สรุปผลการวิจัย (Conclusion) สรุปผลที่ได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
3. กิตติกรรมประกาศ
อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เป็นการแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมในการวิจัย เช่น แหล่งทุน แต่ไม่ได้มีชื่อร่วมวิจัย
4. รายการเอกสารอ้างอิง
4.1 ในเนื้อหา ระบบที่ใช้อ้างอิงคือ ระบบชื่อและ ปี (Name-and-year System) ในเอกสารภาษาไทยใช้ชื่อตัวและปี พ.ศ. เช่น
4.1.1 คนเดียว ใช้รูปแบบ พาวิน (2556) รายงานว่า.... หรือ ...... (พาวิน, 2556) ในบทความภาษาอังกฤษใช้ Yong (1996) หรือ .... (Yong, 1996)
4.1.2 สองคน ใช้คำเชื่อมและ เช่น พาวิน และสมชาย (2557) หรือ ..... (พาวิน และสมชาย, 2557) ในบทความภาษาอังกฤษใช้ Young and Smith (2000) หรือ ....(Young and Smith, 2000)
4.1.3 มากกว่า 2 คนขึ้นไป ใช้ชื่อคนแรกตามด้วยคำว่า และคณะ เช่น พาวิน และคณะ (2560) รายงานว่า หรือ ....... (พาวิน และคณะ, 2560) ในบทความภาษาอังกฤษ ใช้ Young et al. (2005) หรือ ..... (Young et al., 2005) แต่ในส่วนบัญชีเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ให้ใช้ชื่อผู้เขียนเต็มทุกคน
4.2 ในบัญชีเอกสารอ้างอิง ให้เรียงลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ โดยเรียงลำดับชื่อตามตัวอักษรในแต่ละภาษา ตามรูปแบบการเขียนดังนี้
4.2.1 วารสาร (Standard Journal)
แสงทอง พงษ์เจริญกิต จันทร์เพ็ญ สะระ ธีรนุช เจริญกิจ และฉันทนา วิชรัตน์. 2559.
การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลำไยด้วยเทคนิคดีอาร์เอพีดี.
วารสารเกษตร 32(1): 1-8.
Shternshi, M., O. Tomilova, T. Shpatova and K. Soytong. 2005. Evaluation
of ketomium-mycofungicide on siberian isolates of phytopathogenic
Fungi. J. Ari. Tech. 1(2): 247-253.
4.2.2 หนังสือ หรือตำรา (Books/ Textbook) ไม่ต้องระบุจำนวนหน้า
จักรพงษ์ พิมพ์พิมล. 2555. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลลำไยสดเชิงการค้า. ดอคคิว
เมนทารี ดีไซน์, เชียงใหม่.
Steel, R.G.D., J.H. Torrie and D.A. Dickie. 1997. Principal and procedures of
atatistic-abiometric approach. 3rd Edition. McGraw-Hill Publishing
Company, Toronto.
4.2.3 เรื่องย่อยในหนังสือหรือตำราที่มีผู้เขียนแยกบทและมีบรรณาธิการ (Section in Books with Editors)
สมชาย องค์ประเสริฐ. 2543. การให้น้ำลำไย. น. 44-49. ใน :นพดล จรัสสัมฤทธิ์ พา
วิน มะโนชัย นพมณี โทปุญญานนท์ ธีรนุช จันทรชิต วินัย วิริยะอลงกรณ์ พิชัย
สมบูรณ์วงศ์ (บก.). การผลิตลำไย. สิรินาฏการพิมพ์, เชียงใหม่.
Kubo, T. 2003. Molecular analysis of the honeybee socially. pp. 3-20. In: T.
Kikuchi, N. Azuma and S. Higashi (eds.). Gene, Behaviors and Evolution
of Social Insects. Hokkaido University Press, Sapporo.
4.2.4 วิทยานิพนธ์ (Thesis)
ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส. 2554. การศึกษาหาดัชนีการเก็บเกี่ยวลำไยพันธุ์ดอในพื้นที่จังหวัด
เชียงใหม่ โดยใช้อายุผลและปริมาณความร้อนสะสม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Chantrachit, T. 1994. Anaerobic conditions and off-flavor development in
ripening banana (Carvendishii spp.). M.S. Thesis in Horticulture, Oregon
State University.
4.2.5 ประชุมวิชาการ (Proceeding/ Conference)
วรรณพร จิรารัตน์ สมกิจ อนะวัชกุล ปิยศักดิ์ คงวิริยะกุล และสมบัติ พนเจริญสวัสดิ์.
ผลของการเสริมดอกปีบในอาหารสุกรขุนต่อสมรรถภาพการผลิตและ
2550. ผลของการเสริมดอกปีบในอาหารสุกรขุนต่อสมรรถภาพการผลิตและ
คุณภาพซาก. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 45, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 308-314.
Yamagishi, Y., H. Mitamura, N. Arai, Y. Mitsunaga, Y. Kawabata, M.
Khachapicha, and T. Viputhamumas. 2005. Feeding habits of hatchery-
reared young Mekong giant catfish in fish pond and Mae Peum
reservoir. Proceeding of the 2nd Internationl Symposium on SEASTAR
2000 and Asian Bio-Logging Science, Kyoto. pp. 17-22.
4.2.6 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet)
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2561. การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโปนิกซ์). แหล่งข้อมูล
http://www.servicelink.doae.go.th/corner%20book/
book%2005/Hydropronic.pdf (25 กรกฎาคม 2561).
Linardakis, D.K. and B.I. Manois. 2005. Hydroponics culture of strawberries
in Perlite. Available: http://www.schunder.com/strawberries.html (April
21, 2005.)
5. ตัวอย่างรูปแบบและคำแนะนำที่เป็นภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างรูปแบบและคำแนะนำศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://jap.mju.ac.th หรือ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/download